ข้ามน้ำ 4 ท่า ข้ามภูเขา 5 ลูก
12 มีนาคม 2567
เราส่งท่านได้เพียงแค่ท่าน้ำและเชิงเขาเท่านั้น ส่วนการเดินต่อเป็นหน้าที่ของเธอ ที่จะข้ามขุนเขาทั้ง 5 ลูก หากเธอข้ามได้แล้วเธอก็จะปลอดภัยในการดำรงชีวิตอยู่
ข้ามน้ำ 4 ท่า คือ โอฆะทั้ง 4 ประกอบไปด้วย
๑. กาโมฆะ ห้วงน้ำคือกาม
สิ่งใดที่น่าใคร่ สิ่งใดที่น่าพอใจ นั่นเรียกว่า กาม เราจะต้องข้ามห้วงน้ำนี้ ข้ามความติดข้องยินดี ข้ามในการอยากได้ อยากมี อยากเป็น ข้ามในการติดข้องใน รูป รส กลิ่น เสียง ในโผฏฐัพพะ สิ่งที่มาถูกต้องกาย สิ่งที่กายสัมผัสแตะต้องได้ ได้แก่ อารมณ์หรือสัมผัสที่มีลักษณะเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียดเป็นต้น
๒. ภโวฆะ ห้วงน้ำคือภพ
ห้วงน้ำคือภพนั้น คือภพที่เป็นรูปภพและอรูปภพภพ การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นรูปภพ ถ้าผู้ใดไปเกิดเป็นพรหมเป็นอรูปภพนั้นก็ต้องรอนานเหลือเกิน กว่าจะได้จุติแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์อีก จะได้ปฏิบัติธรรม จะได้บรรลุธรรมนั้นเป็นของยาก เพราะฉนั้นได้เกิดในภพที่เป็นมนุษย์แล้วควร ขวนขวายไม่ทิ้งโอกาส
๓. ทิฏโฐฆะ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ
ห้วงน้ำคือทิฏฐิ นั้นหมายถึงมิจฉาทิฏฐิ ภพ เป็นโอฆะอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ใดไปเกิดเป็นพรหมก็ต้องรอนานเหลือเกิน กว่าจะได้จุติแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ จะได้ปฏิบัติธรรม จะได้บรรลุธรรมนั้นเป็นของยากความเห็นผิด นี้เป็นห้วงน้ำใหญ่ ท่วมทับจิตใจของสัตว์ทั้งหลายให้เกิดความเดือดร้อน ให้เวียนว่ายตายเกิดในห้วงมหรรณพภพสงสาร อันนี้ก็เพราะความเห็นผิด บางคนก็เห็นว่าการให้ทานนั้นไม่มีผล บางคนก็คิดว่าบาปไม่มี บุญไม่มี บางคนเห็นว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี อันนี้ถือเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๔. อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคืออวิชชา
อวิชชา คือ ความไม่รู้ มี ๔ ประการ คือ
๑) ไม่รู้ในทุกข์
๒) ไม่รู้ในสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓) ไม่รู้ในนิโรธ ความดับทุกข์
๔) ไม่รู้ในมรรค หนทางแห่งความดับทุกข์
ภูเขาทั้ง 5 คือกามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียงทั้งหลายอันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันว่า กามคุณ.
เพราะอย่างนี้ เราจึงพาท่านไปส่งได้แค่ท่าน้ำและเชิงเขาเท่านั้น การที่เธอจะข้ามห้วงน้ำทั้ง 4 และภูเขาทั้ง 5 นั้นต้องอาศัย สติสัมปปะชัญญะคอยกำกับ เหมือนหางเสือมิให้หลงทางมุ่งตรงอย่างเดียว ไม่แวะ ไม่หลง ไม่วอกแวกออกนอกเส้นทางให้ข้ามผ่านห้วงน้ำแห่งทุกข์และการยึดติด ทั้งยังต้องอาศัยศีล เพราะศีลเป็นเครื่องกำกับกายบังคับใจ